วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

รู้จัก “โกฐจุฬาลัมพา” พืชสมุนไพรมากสรรพคุณ

 สำหรับโกศจุฬาลัมพานั้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia annua L. นอกจากนี้ยังมีชื่อจีนว่า ชิงฮาว, แชเฮา และ Sweet Wormwood Herb ลักษณะทางพฤษศาสตร์เป็นไม้ล้มสุกอายุปีเดียว สูง 0.7-1.6 เมตร แตกกิ่งมากๆ ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนประปราย หลุดร่วงง่าย ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน มีต่อมโปร่งแสง ใบบริเวณโคนต้นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกแบบขนนก 3 หรือ 4 ชั้น เป็น 5-8 คู่ แฉกใบจักฟันเลื่อยลึกรูปสามเหลี่ยม เส้นกลางใบเด่นชัดทางด้านบนแกนกลางใบมีปีกแคบ อาจจักฟันเลื่อยเล็กน้อยหรือเรียบ ใบบริเวณกลางต้นหยักลึกแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ใบใกล้ยอดรวมทั้งใบประดับหยักลึกแบบขนนก 1 หรือ 2 ชั้น ก้านใบสั้นมาก


โกฐจุฬาลัมพา


ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง รูปพีระมิดกว้าง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น รูปกลม มีจำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 มิลลิเมตร สีเหลืองถึงสีเหลืองเข้ม ก้านช่อย่อยสั้น วงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 10-18 ดอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายจักซี่ฟัน 5 ซี่ เกสรเพศผู้มี 5 อัน อับเรณูเชื่อมติดกัน แต่ละอันมีรยางค์ (ส่วนที่ยื่นออกมาจากส่วนหลักของอวัยวะสิ่งมีชีวิต) ด้านบน 1 อันรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม และมีรยางค์ปลายมนที่โคน 2 อัน



สำหรับส่วนที่ใช้ทำยาคือ ลำต้นแห้ง


สรรพคุณของแต่ละส่วนที่ใช้ทำยา ตำราสรรคุณยาไทยว่าโกฐจุฬาลัมพามีสรรพคุณแก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน-เป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้ ลดเสมหะ แก้หืด แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อโกฐจุฬาลัมพาจัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง 5 (เบญจโกฐ) โกฐทั้ง 7 (สัตตโกฐ) และโกฐทั้ง 9(เนาวโกฐ) ตำรายาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีมอโนกราฟโกฐจุฬาลัมพา โดยระบุข้อบ่งใช้ว่าใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ำ ๆ ที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรค และแก้ไข้จับสั่น


รายงานการวิจัยในปัจจุบัน


ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าสารชิงฮาวซู (อาร์เทแอนนูอินหรืออาร์เทมิซินิน) แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อไข้จับสั่นชนิดฟัลซิพารุม (Plasmodium falciparum) และชนิดไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ดื้อยา ปัจจุบันสารชนิดนี้กับอนุพันธุ์กึ่งเคมีสังเคราะห์ของสารชนิดนี้ถูกนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย


สารสำคัญ


โกฐจุฬาลัมพามีสารอนุพันธ์เซสควิเทอร์พีนแลกโทน (sesquiterpene lactones) หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือ ชิงฮาวซู (qinghaosu) หรือ อาร์เทแอนนูอิน (arteannuin) หรืออาร์เทมิซินิน (artemisinin) และพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) อีกหลายชนิด เช่น คาสทิซิน (casticin) เซอร์ซิลินีออล (cirsilineol) คริโซพลีนอลดี (chrysoplenol-D) คริโซพลีเนทิน (chrysoplenetin)


แหล่งกำเนิด และการกระจายพันธุ์


พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ภาคเหนือของทวีปแอฟริกา และในทวีปเอเชียในจีนมักพบขึ้นทั่วไปตามเนินเขา ข้างทาง ที่รกร้าง หรือตามชายป่า ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-3,650 เมตร มีผู้นำมาทดลองปลูกในประเทศไทยและพบว่าขึ้นได้ดี ออกดอกและเป็นผลได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน โกฐจุฬาลัมพาที่มีขายในท้องตลาดได้จากพืชปลูกในมณฑลเหอเป่ย์ ชานตง เจียงซู หูเป่ย์ และฝูเจี้ยน ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน


พื้นที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย


- ลักษณะพื้นที่ พื้นที่ดอน


- ภาค ทั่วทุกภาคของประเทศไทย


- จังหวัด ทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทย


การคัดเลือกพันธุ์ (พันธ์ุที่นิยมปลูกในประเทศไทย)


- พันธุ์ที่ใช้เป็นยา พันธุ์พื้นบ้านทั่วไป (ใบฝอย)


- พันธุ์ที่ใช้เป็นอาหาร พันธุ์พื้นบ้านทั่วไป (ใบฝอย)




การขยายพันธุ์


ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ โกฐจุฬาลัมพาจะปักชำโดยการตัดต้นยาว 8 – 10 นิ้ว แล้วปักในถุงเพาะชำที่ผสมดินกับขี้เถ้าแกลบ เอาไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอประมาณ 10 – 20 วัน จะงอกรากเป็นต้นใหม่ต่อไป


การปลูก/สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก


- ฤดูกาลเพาะปลูก ปลูกได้ทุกฤดู นิยมปลูกฤดูหนาว และต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ


- การเตรียมดิน จะต้องขุดเป็นแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ละพื้นที่ เว้นทางเดิน 50 เซนติเมตรเป็นร่องระบายน้ำผสมคลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก


- วิธีการปลูก เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้ว นำต้นกล้าอายุ 3 – 4 เดือน ลงปลูกห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร


ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร กลบดินแล้วนำไปผูกเชือก รดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ


การปฏิบัติดูแลรักษา


- การให้ปุ๋ย เมื่อปลูกได้ 30 วัน ก็ควรพรวนดินและใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ต้น พร้อมกำจัดวัชพืช ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์สลับกันไป เดือนละ 1 – 2 ครั้ง


- การให้น้ำ ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ถ้ามีฝนก็ควรงดบ้าง


- การกำจัดวัชพืช ควรทำพร้อมกับการพรวนดินและใส่ปุ๋ย


-การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู โกฐจุฬาลัมพาไม่ค่อยมีแมลงศัตรูเท่าไหร่ ควรฉีดพ่นด้วยสารสะเดา หรือสารชีวภาพก็ได้ 


การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว


- ฤดูกาลการเก็บเกี่ยว เมื่อโกฐจุฬาลัมพาออกดอก เริ่มบานได้เกินครึ่งของช่อดอก ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ และจะเก็บเกี่ยวได้ทุกฤดูกาล


- วิธีการเก็บเกี่ยว จะต้องให้ต้นสูงจากดินประมาณ 10 เซนติเมตร จะใช้มีด หรือเคียวเกี่ยวก็ได้ และส่งแปรรูปต่อไป


- การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อได้ต้นโกฐจุฬาลัมพามาแล้ว ก็นำมาล้างน้ำให้สะอาดและตากแดดให้แห้ง หรือจะตัดเป็นท่อน ๆ ก็ได้ ตากแดดประมาณ 4 – 5 วัน ก็จะแห้ง แล้วนำไปอบอีกครั้งจนแห้งสนิท


- การบรรจุและการเก็บรักษา เมื่อได้โกฐจุฬาลัมพาแห้งมาแล้ว ก็บรรจุถุงพลาสติกมัดปากให้แน่น นำส่งจำหน่ายต่อไป


หรือจะเก็บก็ควรเก็บใส่ถุงพลาสติกมัดปากให้แน่นไม่ให้โดนน้ำ แล้วเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ


การจำหน่าย


ต้นแห้งราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท


แตุ่ถึงอย่างไรกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ก็ออกมาแจ้งเตือนประชาชนว่าอย่าแห่ซื้อ สมุนไพร "โกฐจุฬาลัมพา" เพื่อรับประทานต้านโควิด เพียงตัวเดียวเพราะอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ หากจะทานยาในลักษณะนี้ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน


ที่มา:sanook

3 ความคิดเห็น:

  1. รับทำเว็บไซต์ สุราษฎร์ธานี เว็บไซต์คือตัวแทนธุรกิจ ที่นำเสนอสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักได้ตลอด 24 ชั่วโมง บริการ รับทำเว็บไซต์ รองรับการใช้งานบนมือถือ แท็บเล็ต พีซี บริการ รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก ค้นหาง่าย

    ตอบลบ
  2. รับทำเว็บไซต์ อำนาจเจริญ เว็บไซต์คือตัวแทนธุรกิจ ที่นำเสนอสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักได้ตลอด 24 ชั่วโมง บริการ รับทำเว็บไซต์ รองรับการใช้งานบนมือถือ แท็บเล็ต พีซี บริการ รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก ค้นหาง่าย

    ตอบลบ